ความหมาย
พระพุทธศาสนา (Buddhism) คือ ศาสนาที่ถือว่าธรรมะเป็นความจริงสากล
ที่ใครก็ตามหากสิ้นกิเลสก็จะพลได้ด้วยตนเอง แต่ผู้ที่ได้บำเพ็ญบารมีจนตรัสรู้
และสามารถตั้งพุทธบริษัทปัจจุบันขึ้นได้ คือ พระพุทธโคตม
ซึ่งเป็นองค์หนึ่งในบรรดาสัมมาสัมพุทธเจ้ามากมายที่ได้เคยตั้งพุทธบริษัทมาแล้ว
และที่จะตั้งต่อไปในอนาคต
ยังมีพระพุทธเจ้าอีกมากที่ตรัสรู้แต่ไม่มีบารมีพอให้ตั้งพุทธบริษัทได้
จึงให้ผลเฉพาะตัวเรียกว่า ปัจเจกพุทธเจ้า
จึงเห็นได้ว่า
จากความสำนึกดังกล่าวข้างต้น ทำให้ชาวพุทธมีใจกว้าง
เพราะถือเสียว่าธรรมะมิได้มีในพระพุทธศาสนาของพระโคตมเท่านั้น
แต่คนดีทั้งหลายก็อาจจะพบธรรมะบางข้อได้ และแม้แต่ชาวพุทธเอง
พระพุทธเจ้าก็ทรงปรารถนาให้แสวงหาและเข้าใจธรรมะด้วยตนเอง พระรัตนตรัยคือ พระพุทธ
พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นสรณะที่พึ่ง คือ
ผู้ช่วยเกื้อกูลให้แต่ละคนสามารถพึ่งตนเองในที่สุด "ตนของตนเป็นที่พึ่งแก่ตนเอง"
อาจกล่าวได้ว่าพุทธศาสนิกที่แท้จริง คือ
ผู้ที่แสวงหาธรรมะด้วยตนเองและพบธรรมะด้วยตนเอง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า
พยายามพัฒนาธาตุพุทธะในตัวเอง
ลักษณะคำสอนของพระพุทธศาสนา
ลักษณะเด่นของพระพุทธศาสนา คือ
เป็นศาสนาแห่งการวิเคราะห์ กล่าวคือ
เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ทั้งความเป็นจริงและข้อธรรมได้ดีเยี่ยมเป็นพิเศษ เช่น
วิเคราะห์จิตได้ละเอียดลอออย่างน่าอัศจรรย์ใจ วิเคราะห์ธรรมะออกเป็นข้อ ๆ
อย่างละเอียดสุขุมและประสานสัมพันธ์กันเป็นระบบที่แน่นแฟ้น
หากจะพยายามอธิบายธรรมะข้อใดสักข้อหนึ่ง ก็จะต้องอ้างถึงธรรมะข้ออื่นๆ
เกี่ยวโยงไปทั้งระบบ วิธีการวิเคราะห์ธรรมะอย่างนี้
บางสำนักของศาสนาฮินดูได้เคยทำมาบ้าง
แต่ก็ไม่สามารถทำได้เด่นชัดอย่างธรรมะที่สอนกันในพระพุทธศาสนา
จึงควรยกย่องได้ว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งการวิเคราะห์
และเมื่อกล่าวเช่นนี้ก็มิได้หมายความว่าพระพุทธศาสนาไม่สนใจด้านอื่นๆ
ทั้งมิได้หมายความเลยไปถึงว่าศาสนาอื่นๆ ไม่รู้จักวิเคราะห์ หามิได้
ต้องการหมายเพียงแต่ว่าพระพุทธศาสนาเด่นกว่าศาสนาอื่นๆ ในด้านวิเคราะห์เท่านั้น
และถ้าหากศาสนาต่างๆ
จะพึ่งพาอาศัยกันและกันก็พระพุทธศาสนานี่แหละสามารถให้ตัวอย่างในการวิเคราะห์ข้อธรรมะได้อย่างดีเยี่ยม
ในขณะที่ศาสนาอื่นๆ อาจจะบริการด้านอื่นๆ ที่ได้ปฏิบัติมาอย่างเด่นชัด เช่น
ศาสนาพราหมณ์ในเรื่องจารีตพิธีกรรม ศาสนาอิสลามในเรื่องกฎหมาย เป็นต้น
แต่ทั้งนี้แล้วแต่ว่าสมาชิกแต่ละคนของแต่ละศาสนาจะสนใจร่วมมือกันในทางศาสนามากน้อยเพียงใด
บ่อเกิดของพระพุทธศาสนา
แม้ชาวพุทธจะมีความสำนึกว่า สัมมาสัมพุทธเจ้าได้มีมาแล้วมากมายในอดีต
และจะมีอีกมากมายต่อไปในอนาคต แต่อย่างไรก็ตาม
คำสอนของอดีตพระพุทธเจ้าไม่เหลือหลักฐานไว้ให้ศึกษาได้อีกแล้ว
ส่วนคำสอนของพระพุทธเจ้าที่จะมาในอนาคตก็ยังไม่มีใครรู้ ดังนั้น
บ่อเกิดของพระพุทธศาสนาในปัจจุบันจึงมาจากคำสอนของพระพุทธโคตมแต่องค์เดียว
คำสอนของนักปราชญ์อื่นๆ ทั้งในและนอกพระพุทธศาสนา
อาจจะเสริมความเข้าใจคำสอนของพระพุทธเจ้าได้
แต่ไม่อาจจะถือว่าเป็นบ่อเกิดของพระพุทธศาสนา
อย่างไรก็ตาม
พระพุทธเจ้าได้ตรัสเตือนไว้ว่า
ความรู้ที่พระองค์ทรงรู้จากการตรัสรู้นั้นมีมากราวกับใบไม้ทั้งป่า
แต่ที่พระองค์นำมาสอนสาวกนั้นมีปริมาณเทียบได้กับใบไม้เพียงกำมือเดียว
พระองค์ไม่อาจจะสอนได้มากกว่าที่ได้ทรงสอนไว้ ดังนั้น หากมีปัญหาขัดแย้งเกิดขึ้น
ให้ตกลงกันด้วยสังคายนา (ร้องร่วมกัน) คือ ประชุมและลงมติร่วมกัน
ส่วนในเรื่องธรรมวินัยปลีกย่อย หากจำเป็นก็ให้ประชุมตกลงปรับปรุงได้ ดังนั้น
บ่อเกิดของพระพุทธศาสนาอีกทางหนึ่งก็คือสังคายนา
สังคายนาจึงกลายเป็นเครื่องมือให้เกิดการยอมรับร่วมกันในหมู่ผู้ยอมรับสังคายนาเดียวกัน
แต่ก็เป็นทางให้เกิดการแตกนิกายโดยไม่ยอมรับสังคายนาร่วมกัน นิกายต่างๆ
ของพระพุทธศาสนาจึงเกิดขึ้น เพราะการยอมรับสังคายนาต่างกัน
และนิกายต่างกันนั้นก็ยอมรับคัมภีร์และอรรถกถาที่ใช้ตีความคัมภีร์ต่างกัน
อย่างไรก็ตาม
ชาวพุทธแม้จะต่างนิกายกันก็ถือว่าเป็นชาวพุทธด้วยกัน ทำบุญร่วมกันได้
และร่วมมือในกิจการต่างๆ ได้ ผู้ใดนับถือพระพุทธเจ้าและแม้จะนับถือสิ่งอื่นด้วย
เช่น พระพรหม พระอินทร์ ไหว้เจ้า หรือภูตผีต่างๆ ก็ยังถือว่าเป็นชาวพุทธด้วยกัน
มิได้มีความรังเกียจเดียดฉันกันแต่ประการใด ดังนั้น
การที่จะมีบ่อเกิดเพิ่มเติมแตกต่างกันไปบ้าง
ตราบใดที่ยังยอมรับพระไตรปิฎกร่วมกันเป็นส่วนมาก
ก็ไม่ถือว่าต้องแตกแยกกัน
คัมภีร์ของพระพุทธศาสนา
เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานได้ 3 เดือน
สาวกผู้ได้เคยสดับฟังคำสั่งสอนของพระองค์จำนวน 500 รูป ก็ประชุมทำสังคายนากัน ณ
ถ้ำสัตบรรณคูหา ใกล้เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ สอบปากคำกันอยู่ 7 เดือน
จึงตกลงประมวลคำสอนของพระพุทธเจ้าได้สำเร็จเป็นครั้งแรก นี่คือบ่อเกิดของคัมภีร์พระไตรปิฎก ต่อมาเมื่อมีปัญหาขัดแย้ง
พระเถระผู้ใหญ่ก็ประชุมขจัดข้อขัดแย้งกัน เป็นสังคายนาต่อมาอีกหลายครั้ง จนได้พระไตรปิฎกของฝ่ายเถรวาทดังที่เรารู้จักกันทุกวันนี้
ซึ่งถือกันทั่วไปว่าเป็นคำสอนโดยตรงของพระพุทธเจ้าที่นับว่าใกล้เคียงที่สุด
เนื่องจากภาษามคธที่ใช้บันทึกคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้น
ครั้นกาลเวลาล่วงไปก็ค่อยๆ กลายเป็นภาษาโบราณ
ยากที่จะเข้าใจได้ทันทีสำหรับนักศึกษารุ่นหลังๆ
จึงได้มีผู้เชี่ยวชาญนิพนธ์ชี้แจงความหมายเรียกว่า อรรถกถา
เมื่อนักศึกษารู้สึกว่าอรรถกถายังไม่ชัดเจนก็มีผู้เชี่ยวชาญนิพนธ์ฎีกาขึ้นชี้แจงความหมาย
และมีอนุฎีกาสำหรับชี้แจงความหมายของฎีกาอีกต่อหนึ่ง
ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะปัญหาก็นิพนธ์ชี้แจงเฉพาะปัญหาขึ้นเรียกว่า ปกรณ์ เหล่านี้ถือว่าเป็นคัมภีร์พระพุทธศาสนาทั้งสิ้น
แต่ทว่ามีน้ำหนักน้อยกว่าพระไตรปิฎก เพราะถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ตีความ
นักศึกษาจะเห็นกับบางคัมภีร์ และไม่เห็นด้วยกับบางคัมภีร์ก็ได้
ไม่ถือว่ามีความเป็นพุทธศาสนิกมากน้อยกว่ากันเพราะเรื่องนี้
นิกายมหายาน
พระพุทธเจ้าได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า "ดูกรอานนท์ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา
ถ้าสงฆ์ต้องการก็จงถอนสิกขาบทเล็กน้อยเสียบ้างก็ได้" (มหาปรินิพพานสูตร
10/141) ทำให้เกิดมีปัญหาว่า แค่ไหนเรียกว่าเล็กน้อย
เป็นเหตุให้พระภิกษุบางรูปไม่เห็นด้วย และไม่ยอมรับสังคายนามาตั้งแต่ครั้งแรก
และเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นกับหลายสังคายนา มีกลุ่มที่แยกตัวทำสังคายนาต่างหาก
เป็นการแตกแยกทางลัทธิและนิกาย และไม่ควรถือว่าเป็นการแบ่งแยกศาสนาแต่ประการใด
ไม่อาจกำหนดได้แน่ชัดลงไปว่า
พระพุทธศาสนานิกายมหายานเริ่มถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่เมื่อใด ที่แน่ชัดก็คือ
พระเจ้ากนิษกะมหาราช กษัตริย์องค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์กุษาณะ (ศต.1 แห่งคริสต์ศักราช)
ทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภกองค์แรกของนิกายมหายาน
ได้ทรงปลูกฝังพระพุทธศาสนามหายานลงมั่นคงในราชอาณาจักรของพระองค์
และทรงส่งธรรมทูตออกเผยแพร่ยังนานาประเทศ
เปรียบได้กับพระเจ้าอโศกของฝ่ายเถรวาท
ฝ่ายมหายานมิได้ปฎิเสธพระไตรปิฎก หากแต่ถือว่ายังไม่พอ
เนื่องจากเกิดมีความสำนึกร่วมขึ้นมาว่า นามและรูปของพระพุทธเจ้าเป็นโลกุตระ
ไม่อาจดับสูญ สิ่งที่ดับสูญไปโดยการเผาเป็นเพียงภาพมายา
พระธรรมกายของพระองค์อันเป็นธาตุพุทธะบริสุทธิ์ยังคงอยู่ต่อไป
มนุษย์ทุกคนมีธาตุพุทธะร่วมกับพระพุทธเจ้า หากมีกิเลสบดบังธาตุพุทธะก็ไม่ปรากฏ
กิเลสเบาบางลงเท่าใดธาตุพุทธะก็จะปรากฏมากขึ้นเท่านั้น
มนุษย์ทุกคนมีสิทธิและมีความสามารถเป็นพระโพธิสัตว์ได้เช่นเดียวกับพระพุทธเจ้า
หากได้ฝึกฝนชำระจิตใจจนบริสุทธิ์ผุดผ่องด้วยเมตตาบารมี พระโพธิสัตว์จึงมีมากมาย
พระโพธิสัตว์ทุกองค์ย่อมเสริมงานของพระพุทธเจ้า
คำสอนของพระโพธิสัตว์จึงมีน้ำหนักเท่ากับพระไตรปิฎก เมื่อสำนึกเช่นนี้
ฝ่ายมหายานจึงมีคัมภีร์ในระดับเดียวกับพระไตรปิฎกเพิ่มขึ้นอีกมากและอาจจะเพิ่มต่อไปได้อีก
หากยอมรับหรือมีศรัทธาต่อพระโพธิสัตว์ไม่เท่ากัน
ความสำนึกและการแสดงออกก็ย่อมจะผิดเพี้ยนกันออกไปได้ ทำให้มีลัทธิต่างๆ
มากมายในนิกายมหายาน และอาจจะเกิดใหม่ต่อไปได้อีก
แต่ทั้งนี้ก็มิได้หมายความว่าเกิดการแตกแยกในศาสนาหรือนิกาย
เพราะทุกลัทธิย่อมถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของพระพุทธศาสนามหายาน
ด้วยเหตุผลเช่นนี้แหละฝ่ายมหายานจึงภูมิใจว่านิกายของตนใจกว้าง เป็นยานใหญ่
สามารถบรรทุกคนได้มาก
และบันดาลใจให้ผู้มีจิตศรัทธาบำเพ็ญเมตตาบารมีได้อย่างกว้างขวาง
อย่างที่มูลนิธิหัวเฉียวแห่งประเทศไทยพิสูจน์ตัวเองให้เห็นอยู่
การวิเคราะห์ข้อธรรมในพระพุทธศาสนา
ผู้ใดสนใจคงได้ศึกษาตัวอย่างการวิเคราะห์ข้อธรรมในพระพุทธศาสนามาแล้วไม่มากก็น้อย
จนพอจะสังเกตได้ว่า เมื่อกล่าวถึงธรรมะข้อใดในพระพุทธศาสนา ก็มักจะไม่กล่าวลอยๆ
แต่จะต้องมีจำนวนเลขกำกับแสดงการวิเคราะห์หรือการจำแนกธรรมด้วยเสมอ เช่น อริยสัจ 4,
มรรค 8, ศีล 5, ศีล 8, ศีล 10, ศีล 227, มงคล 38, กรรมฐาน 40, เจตสิก 52, จิต 89,
จิต121 เป็นต้น
ให้สังเกตด้วยว่า
การวิเคราะห์ข้อธรรมในพระพุทธศาสนานั้นมิได้วิเคราะห์ชั้นเดียวแล้วจบ
แต่มีการวิเคราะห์ต่อๆ ไปอีกหลายชั้นหลายเชิงเกี่ยวโยงกันทั้งหมด
ไม่ใช่เหมือนสายโซ่ แต่เหมือนอวนผืนใหญ่ที่ตาทุกตาของอวนมีสายโยงถึงกันได้ทั้งหมด
จะขอยกให้ดูเป็นตัวอย่างการศึกษาเท่านั้น เช่น การวิเคราะห์จิต และเจตสิก เป็นต้น
ซึ่งมีประโยชน์มากสำหรับการมองตน รู้ตน และพัฒนาตน
ผู้ศึกษาจะวิเคราะห์ธรรมะเรื่องใดเพิ่มเติมอีกเท่าใดก็ได้ตามความต้องการ
ชีวประวัติของพระพุทธเจ้า
ตั้งแต่ตรัสรู้ถึงปรินิพพานเป็นระยะเวลา 45 พรรษา พระองค์จาริกไปยังแว่นแคว้นต่างๆ
ในชมพูทวีปตอนเหนือ เพื่อเผยแผ่พระธรรมคำสอนของพระองค์
พร้อมทั้งอบรมสาวกตั้งพุทธบริษัทขึ้นอย่างมั่งคั่ง
ยากที่จะเรียงลำดับได้ว่าปีใดพระองค์เสด็จไป ณ ที่ใดและทรงสั่งสอนอะไรบ้าง
เท่าที่นักวิจารณ์ได้พยายามวิจัยไว้พอจะเรียบเรียงได้ตามช่วงการเข้าพรรษาของพระองค์ในที่ต่างๆ
ดังต่อไปนี้
พรรษาที่ 1
ตรัสรู้ใต้ต้นโพธิ์ ณ คืนวันเพ็ญเดือนวิสาขะ (กลางเดือน 6) 2 เดือนต่อมา
คือวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ (กลางเดือน 8) ทรงเทศนาโปรดเบญจวัคคีย์ (คณะ 5 คน)
ที่ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน ด้วยธรรมจักกัปปวัตนสูนร ต่อมาอีก 5
วันทรงเทศนาโปรดเบญจวัคคีย์ด้วยอนัตตลักขณสูตร วันต่อมาได้พระยสเป็นสาวก
ทรงจำพรรษาที่เมืองพาราณสี แคว้นกาสี (ปัจจุบันอยู่ในรัฐอุตรประเทศ)
พรรษาที่ 2 เสด็จเสนานิคม ในตำบลอุรุเวลกัสสปะ นทีกัสสปะ คยากัสสปะ กับศิษย์ 1000 คน ตรัสอาทิตตปริยายสูตรที่คยาสีสะ เสด็จราชคฤห์แห่งแคว้นมคธ กษัตริย์เสนิยะพิมพสารทรงถวายสวนเวฬุวันแต่พระสงฆ์ ได้สารีบุตรและโมคคัลลานะเป็นสาวก อีก 2 เดือนต่อมา เสด็จกบิลพัสดุ์ ทรงพำนักที่นิโครธารามได้สาวกมากมาย เช่น นันทะ ราหุล อานนท์ อุบาลี เทวทัต และพระญาติอื่นๆ อนาถปิณฑิกะอาราธนาสู่กรุงสาวัตถีแห่งแคว้นโกศล ถวายสวนเชตะวันแด่คณะสงฆ์ ทรงจำพรรษาที่นี่
พรรษาที่ 3 นางวิสาขาถวายบุพพาราม ณ กรุงสาวัตถี ทรงจำพรรษาที่นี่
พรรษาที่ 4 ทรงจำพรรษาที่เวฬุวัน ณ กรุงราชคฤห์แห่งแคว้นมคธ
พรรษาที่ 5 โปรดพระราชบิดาจนบรรลุอรหัตผล ทรงไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างพระญาติฝ่ายสักกะกับพระญาติฝ่ายโกลิยะเกี่ยวกับการใช้น้ำในแม่น้ำโรหินี ทรงบวชพระนางปชาบดีโคตมีและคณะเป็นภิกษุณี
พรรษาที่ 6 ทรงแสดงยมกปาฎิหาริย์ในกรุงาสวัตถี ทรงจำพรรษาบนภูเขามังกลุบรรพต
พรรษาที่ 7 ทรงเทศนาและจำพรรษาที่กรุงสาวัตถี ระหว่างจำพรรษาเสด็จขึ้นสวรรค์ชั้นดาวดึงส์โปรดพระมารดาด้วยพระอภิธรรม
พรรษาที่ 8 ทรงเทศนาในแคว้นภัคคะ ทรงจำพรรษาในสวนเภสกลาวัน
พรรษาที่ 9 ทรงเทศนาในแคว้นโกสัมพี
พรรษาที่ 10 คณะสงฆ์แห่งโกสัมพีแตกแยกอย่างรุนแรง ทรงตักเตือนไม่เชื่อฟัง จึงเสด็จไปประทับและจำพรรษาในป่าปาลิเลยยกะ ช้างเชือกหนึ่งมาเฝ้าพิทักษ์และรับใช้ตลอดเวลา
พรรษาที่ 11 เสด็จกรุงสาวัตถี คณะสงฆ์แห่งโกสัมพีปรองดองกันได้ ทรงจำพรรษาในหมู่บ้านพราหมณ์ชื่อเอกนาลา
พรรษาที่ 12 ทรงเทศนาและจำพรรษาที่เวรัญชา เกิดความอดอยากรุนแรง
พรรษาที่ 13 ทรงเทศนาและจำพรรษาบนภูเขาจาลิกบรรพต
พรรษาที่ 14 ทรงเทศนาและจำพรรษาที่กรุงสาวัตถึ ราหุลอุปสมบท
พรรษาที่ 15 เสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ สุปปพุทธะถูกแผ่นดินสูบเพราะขัดขวางทางผ่าน
พรรษาที่ 16 ทรงเทศนาและจำพรรษาที่อาลวี
พรรษาที่ 17 เสด็จกรุงสาวัตถี กลับมาอาลวีและทรงจำพรรษาที่กรุงราชคฤห์
พรรษาที่ 18 เสด็จอาลวี ทรงจำพรรษาบนภูเขาจาลิกบรรพต
พรรษาที่ 19 ทรงเทศนาและจำพรรษาบนภูเขาจาลิกบรรพต
พรรษาที่ 20 โจรองคุลีมาลกลับใจเป็นสาวก ทรงแต่งตั้งให้พระอานนท์รับใช้ใกล้ชิดตลอดกาล ทรงจำพรรษาที่กรุงราชคฤห์ ทรงเริ่มบัญญัติพระวินัย
พรรษาที่ 21-44 ทรงยึดเอาเชตะวันและบุพพารามในกรุงราชคฤห์เป็นศูนย์เผยแผ่และที่ประทับจำพรรษา เสด็จพร้อมสาวกออกเทศนาโปรดเวไนยสัตว์ตามแว่นแคว้นต่างๆ โดยรอบ
พรรษาที่ 45 และสุดท้าย ปรากฎในมหาปรินิพพานสูตร มหาสุทัสนสูตร และชนวสภสูตร ความว่า พระเทวทัตปองร้ายพระพุทธเจ้าบริเวณเขาคิชฌกูฎใกล้กรุงราชคฤห์ ถึงกับพระบาทห้อโลหิต ทรงได้รับการบำบัดจากหมอชีวก วัสสการเข้าเผ้า เสด็จอัมพลัฎฐิกา นาลันทา และปาฎลิคามตามลำดับ ทรงข้ามแม่น้ำคงคาที่โตมดิตถ์ เสด็จต่อไปยังโกฎิคาม นาทิคาม และเวสาลี ทรงพำนักในสวนของนางคณิกาอัมพปาลี เสด็จจำพรรษาที่เวฬุวัน ทรงเริ่มประชวร และ 3 เดือนต่อมาเสด็จสู่ปรินิพพานในเมืองกุสินาราแห่งแคว้นมัลละ
พรรษาที่ 2 เสด็จเสนานิคม ในตำบลอุรุเวลกัสสปะ นทีกัสสปะ คยากัสสปะ กับศิษย์ 1000 คน ตรัสอาทิตตปริยายสูตรที่คยาสีสะ เสด็จราชคฤห์แห่งแคว้นมคธ กษัตริย์เสนิยะพิมพสารทรงถวายสวนเวฬุวันแต่พระสงฆ์ ได้สารีบุตรและโมคคัลลานะเป็นสาวก อีก 2 เดือนต่อมา เสด็จกบิลพัสดุ์ ทรงพำนักที่นิโครธารามได้สาวกมากมาย เช่น นันทะ ราหุล อานนท์ อุบาลี เทวทัต และพระญาติอื่นๆ อนาถปิณฑิกะอาราธนาสู่กรุงสาวัตถีแห่งแคว้นโกศล ถวายสวนเชตะวันแด่คณะสงฆ์ ทรงจำพรรษาที่นี่
พรรษาที่ 3 นางวิสาขาถวายบุพพาราม ณ กรุงสาวัตถี ทรงจำพรรษาที่นี่
พรรษาที่ 4 ทรงจำพรรษาที่เวฬุวัน ณ กรุงราชคฤห์แห่งแคว้นมคธ
พรรษาที่ 5 โปรดพระราชบิดาจนบรรลุอรหัตผล ทรงไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างพระญาติฝ่ายสักกะกับพระญาติฝ่ายโกลิยะเกี่ยวกับการใช้น้ำในแม่น้ำโรหินี ทรงบวชพระนางปชาบดีโคตมีและคณะเป็นภิกษุณี
พรรษาที่ 6 ทรงแสดงยมกปาฎิหาริย์ในกรุงาสวัตถี ทรงจำพรรษาบนภูเขามังกลุบรรพต
พรรษาที่ 7 ทรงเทศนาและจำพรรษาที่กรุงสาวัตถี ระหว่างจำพรรษาเสด็จขึ้นสวรรค์ชั้นดาวดึงส์โปรดพระมารดาด้วยพระอภิธรรม
พรรษาที่ 8 ทรงเทศนาในแคว้นภัคคะ ทรงจำพรรษาในสวนเภสกลาวัน
พรรษาที่ 9 ทรงเทศนาในแคว้นโกสัมพี
พรรษาที่ 10 คณะสงฆ์แห่งโกสัมพีแตกแยกอย่างรุนแรง ทรงตักเตือนไม่เชื่อฟัง จึงเสด็จไปประทับและจำพรรษาในป่าปาลิเลยยกะ ช้างเชือกหนึ่งมาเฝ้าพิทักษ์และรับใช้ตลอดเวลา
พรรษาที่ 11 เสด็จกรุงสาวัตถี คณะสงฆ์แห่งโกสัมพีปรองดองกันได้ ทรงจำพรรษาในหมู่บ้านพราหมณ์ชื่อเอกนาลา
พรรษาที่ 12 ทรงเทศนาและจำพรรษาที่เวรัญชา เกิดความอดอยากรุนแรง
พรรษาที่ 13 ทรงเทศนาและจำพรรษาบนภูเขาจาลิกบรรพต
พรรษาที่ 14 ทรงเทศนาและจำพรรษาที่กรุงสาวัตถึ ราหุลอุปสมบท
พรรษาที่ 15 เสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ สุปปพุทธะถูกแผ่นดินสูบเพราะขัดขวางทางผ่าน
พรรษาที่ 16 ทรงเทศนาและจำพรรษาที่อาลวี
พรรษาที่ 17 เสด็จกรุงสาวัตถี กลับมาอาลวีและทรงจำพรรษาที่กรุงราชคฤห์
พรรษาที่ 18 เสด็จอาลวี ทรงจำพรรษาบนภูเขาจาลิกบรรพต
พรรษาที่ 19 ทรงเทศนาและจำพรรษาบนภูเขาจาลิกบรรพต
พรรษาที่ 20 โจรองคุลีมาลกลับใจเป็นสาวก ทรงแต่งตั้งให้พระอานนท์รับใช้ใกล้ชิดตลอดกาล ทรงจำพรรษาที่กรุงราชคฤห์ ทรงเริ่มบัญญัติพระวินัย
พรรษาที่ 21-44 ทรงยึดเอาเชตะวันและบุพพารามในกรุงราชคฤห์เป็นศูนย์เผยแผ่และที่ประทับจำพรรษา เสด็จพร้อมสาวกออกเทศนาโปรดเวไนยสัตว์ตามแว่นแคว้นต่างๆ โดยรอบ
พรรษาที่ 45 และสุดท้าย ปรากฎในมหาปรินิพพานสูตร มหาสุทัสนสูตร และชนวสภสูตร ความว่า พระเทวทัตปองร้ายพระพุทธเจ้าบริเวณเขาคิชฌกูฎใกล้กรุงราชคฤห์ ถึงกับพระบาทห้อโลหิต ทรงได้รับการบำบัดจากหมอชีวก วัสสการเข้าเผ้า เสด็จอัมพลัฎฐิกา นาลันทา และปาฎลิคามตามลำดับ ทรงข้ามแม่น้ำคงคาที่โตมดิตถ์ เสด็จต่อไปยังโกฎิคาม นาทิคาม และเวสาลี ทรงพำนักในสวนของนางคณิกาอัมพปาลี เสด็จจำพรรษาที่เวฬุวัน ทรงเริ่มประชวร และ 3 เดือนต่อมาเสด็จสู่ปรินิพพานในเมืองกุสินาราแห่งแคว้นมัลละ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น